บทที่ 2



บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเรื่อง วิธีการทำขนมไทย ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1ขนมไทย
2.2สื่อเพื่อการศึกษา
2.1 ขนมไทย
   " ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม "ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม"ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม"ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมา
ว่าน่าจะมาจากคำคำนี้เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุด
ในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้
มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
 "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม"เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ของ"ขนม"ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"แต่ถึงอย่างไรก็
ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม"ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม"อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม"
ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้งเมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้ง
ทั้งนั้นโดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม"
ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใดขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็น
ชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัย
เรื่องไตรภูมิพระร่วงซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยาดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ
 บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนมบางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ
 และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้องเตาและรังขนมครกแสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น
 คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขายบางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด
ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่องจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทยดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า
การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาว
โปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่าท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือ
ของหวานในวังได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆโดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดง
มาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกันขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็น
ที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง
 ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ
ล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีผู้ทรงเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกล่าวไว้ว่าในงานสมโภช
พระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับ
พระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอยข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ
 ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่
 การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้นจึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรม
ขนมไทยเริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕นี้เอง
แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยนภาสกรวงศ์
ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย
 ขนมทองหยิบขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว
 ขนมลืมกลืนวุ้นผลมะปราง ฯลฯแสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ
 ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
2.2สื่อเพื่อการศึกษา
     โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย
1.การวางแผน
-การกำหนดวัตถุประสงค์ ทาการกำหนด วัตถุประสงค์ของการออกแบบสื่อ และวัตถุประสงค์ของสื่อการกำหนดวัตถุประสงค์ของสื่อ จะกำหนด 2 ระดับ คือวัตถุประสงค์ทั่วไป และ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และ ทักษะพิสัย
-การกาหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นการกาหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะให้เรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายหลัก และกลุ่มเป้าหมายรอง
-กำหนดหัวข้อเนื้อหา โครงสร้างเนื้อหา และเนื้อหา จากการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งจะเป็นสิ่งกำหนดโครงสร้างบทเรียนและโครงสร้างโปรแกรม
-กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการอ่านตัวอักษร ดูภาพ ภาพเคลื่อนไหว ได้ตอบสนองกับบทเรียน ได้ทาแบบฝึกหัด ได้ทาแบบประเมิน ได้มีโอกาสเลือกเนื้อหา และให้ผู้เรียนได้ควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น
-กำหนดวิธีการนาเสนอ จะนาเนอด้วยรูปแบบใด ได้แก่ การนาเสนอเนื้อหาด้วยข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง มีเทคนิคการนาเสนออย่างไร ใช้การออกแบบการติดต่อผู้ใช้อย่างไร ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์
-เขียนผังลาดับภาพ (Storyboard) และสคริปท์ เป็นการกำหนดด้านภาพ ที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรใช้แบบใด ขนาดใดลักษณะใด ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย กราฟิก หรือภาพเคลื่อนไหวมีขนาดภาพ ลักษณะภาพ มุมภาพอย่างใด ใช้เสียงบรรยายหรือไม่ ใช้เสียงประกอบ เสียงพิเศษอะไร ใช้เทคนิคอะไร สิ่งสำคัญในการออกแบบผังลาดับเรื่องคือต้องทาการกำหนดหมายเลขผังลาดับเรื่องและการเชื่อมโยงระหว่างผังลาดับเรื่องว่าจากจุดใดไปจุดใด
2.การเตรียมการ
ทำการเตรียมเนื้อหาตามที่กำหนดไว้ เตรียมการด้านสื่อ เช่น ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงหลัก เสียงเสริม เสียงประกอบ เป็นต้น การเตรียมการด้านทรัพยากรสนับสนุน ประกอบด้วย เตรียมบุคลากร เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เตรียมเวลาและสถานที่ เตรียมดาเนินการตามที่ได้กำหนดไว้
3.การผลิตสื่อทางคอมพิวเตอร์
ในการผลิตสื่อทางคอมพิวเตอร์ต้องพิจารณารูปแบบสื่อว่าเป็นแบบศึกษาเนื้อหาใหม่ แบบฝึกปฏิบัติ แบบเกม แบบสถานการณ์จาลอง หรือแบบทดสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น