เค้าโครง โครงงาน



แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ปีการศึกษา
 2556
----------------------------------------------------
1. ชื่อโครงงาน    เรื่อง วิธีการทำขนมไทย
2. ประเภทของโครงงาน  (เลือก 1 โครงงาน)
               
þโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
               
qโครงงานพัฒนาเครื่องมือ
               
qโครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
                qโครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
               
qโครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ สกุลผู้เสนอโครงงาน  
               
นาย
เทวคุณ                  เนาวโชติ          ชั้น  .6/8    เลขที่ 4
              นางสาววรกานต์          เตจ๊ะ                 ชั้น ม.6/8    เลขที่ 33
              นางสาวอรวรรณ          เยี่ยมวิริยะ           ชั้น  .6/8               เลขที่ 34
              นางสาวกนกวรรณ       ธัญญานนท์         ชั้น ม.6/8                 เลขที่ 45
               
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
                นางสาวดรุณี  บุญวงค์
5. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม

               
-



6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
           ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณโดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง  นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ  งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย  ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง   ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด   ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอขนมไทย   เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี  เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้
เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ       ตั้งแต่วัตถุดิบ  วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน    ในเรื่องรสชาติ สีสันความสวยงาม กลิ่นหอม   รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน   ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก
ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ 
           ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆภาคของประเทศไทย    ในพิธีการต่าง ๆ   เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ    งานศิริมงคลต่างๆ   เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิดหรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่       ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน      เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง    เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาวมีอายุยืน      ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน      ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟูขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
โครงงานขนมไทยที่ตั้งใจจัดทำขึ้นชิ้นนี้  จึงอยากจะให้ผู้ที่ได้รับชมได้ความรู้เกี่ยวกับขนมไทย     ได้เผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่รู้จักขนมไทยและได้เผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่รู้จักขนมไทยที่เป็นมรดกของชาวไทยมาแต่ช้านาน เพื่อสืบสานกระบวนการ และวิธีการทำให้ไปสู่ลูกหลานต่อไป
               
7. วัตถุประสงค์ 
         1.ได้ความรู้เกี่ยวกับขนมไทย
         2.ได้เผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่รู้จักขนมไทย
         3.เพื่อให้คนที่สนใจได้เข้ามาศึกษา
        4.เพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำให้มากขึ้น
       5.ได้คงไว้ซึ้งความเป็นเอกลักษณ์ไทย
8. หลักการและทฤษฎี
            1.ขนมไทย
            2.สื่อเพื่อการศึกษา
               1.1" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม "ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม"ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม"ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมา
ว่าน่าจะมาจากคำคำนี้เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุด
ในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้
มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
 "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม"เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ของ"ขนม"ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"แต่ถึงอย่างไรก็
ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม"ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม"อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม"
ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้งเมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้ง
ทั้งนั้นโดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม"
ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใดขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็น
ชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัย
เรื่องไตรภูมิพระร่วงซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยาดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ
 บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนมบางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ
 และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้องเตาและรังขนมครกแสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น
 คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขายบางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด
ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่องจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทยดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า
การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาว
โปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่าท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือ
ของหวานในวังได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆโดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดง
มาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกันขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็น
ที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง
 ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ
ล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีผู้ทรงเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกล่าวไว้ว่าในงานสมโภช
พระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับ
พระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอยข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ
 ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่
 การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้นจึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรม
ขนมไทยเริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕นี้เอง
แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยนภาสกรวงศ์
ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย
 ขนมทองหยิบขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว
 ขนมลืมกลืนวุ้นผลมะปราง ฯลฯแสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ
 ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
        1.2โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย

9. ขอบเขตของโครงงาน
             ใช้โปรแกรมUlead, Proshow Gold และ กล้องวิดีโอในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา

10. ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
ü











2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล

ü










3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ


ü









4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน



ü








5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
1




ü







6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
2





ü






7
ปรับปรุง ทดสอบ






ü





6
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน








ü



8
ประเมินผลงาน










ü

9
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน











ü
11. สถานที่ดำเนินงาน
            บ้าน นางสาว กนกวรรณธัญญานนท์
            บ้านเลขที่ 133/ 142  ม.2 ต.ทับมา อ.เมืองจ.ระยอง
12. งบประมาณ
           500 บาท

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
             1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเป็นบทเรียนเรื่องวิธีการทำขนมไทย
             2.ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป
             3.ผู้เข้าชมได้รับความรู้เกี่ยวกับขนมไทย
            4.สามารถทำให้ผู้เข้ารับชมเห็นคุณค่าและรู้จักอนุรักษ์ขนมไทยให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทย  
14. เอกสารอ้างอิง
http://vision4angle.wordpress.com , http://www.slideshare.net/annynasonsawan/4-13755283 ,                  http://www.isaansmile.com/kahnomthai/prawat.php
                                                                              ลงชื่อ   นายเทวคุณ           เนาวโชติ       ชั้น ม.6/8 เลขที่ 4
                                                                                 นางสาววรกานต์   เตจ๊ะ             ชั้น ม.6/8 เลขที่ 37
                                                                                 นางสาวอรวรรณ   เยี่ยมวิริยะ     ชั้น ม.6/8 เลขที่ 38
                                                                                 นางสาวกนกวรรณ ธัญญานนท์  ชั้น ม.6/8เลขที่ 40
                                                                                                               ผู้เสนอโครงงาน

                                                                                                        ลงชื่อ.............................................
                                                                                                                   (นายอำนวย  มณีวงษ์)
                                                                                                                   ครูที่ปรึกษาโครงงาน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น